[L]olicon
L หรือคำเรียกเต็มๆว่า Lolicon ความหมายง่ายๆของ L คือ "รักเด็ก" มันเป็นความหมายงายๆแต่ยังไม่มีคนเข้าใจมากนัก
วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ไตเติลรายการทีนโซไซตี้
1.ชื่อเรื่อง
ไตเติ้ลรายการ ทีนโซไซตี้
2. ข้อมูล
เป็นรายการแนววาไรตี้ ที่เปิดโอกาสวัยรุ่นได้แสดง ออกทุกรูปแบบ ที่จะให้ผู้ชมได้สัมผัสโลกของวัยรุ่น
- ช่วง star เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ มาโชว์อิสระทางความคิดและความสามารถ
- ช่วง mission เป็นการเชิญผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาสอนเทคนิคในการทำงานของตนให้สาวน้อยทั้ง 12 คนได้ทดลองทำ อาทิ คุณกงพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประดิษฐ์สิ่งของ มาสอนทำตุ๊กตาหมี , คุณภูรินัฐ เจ้าของร้านเบเกอรี่สไตล์ญี่ปุ่น มาสอนทำสตรอเบอร์รี่ซีสเค้ก ฯลฯ
- ช่วง มุข..ยี้..จีบหญิง เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมสนุกกับรายการด้วยการส่งมุขจีบหญิง มาให้สาวน้อย12 คนช่วยโหวต มุขใครยี้ที่สุดจะได้รับของที่ระลึกจากรายการเป็นของรางวัล
- ช่วง avenue เป็นช่วงที่สาวน้อยทั้ง 2 ผลัดกันท่องไปในเทรนด์ล่าสุดของความอร่อย ของขนมสารพัดชนิด เพื่อให้ผู้ชมได้อัพเดทร้านอร่อย
3. วัตถุประสงค์
- เพื่อดึงดูดความสนใจให้แก่ผู้ชม
- มีความโดดเด่นให้กับรายการ
-เพื่อบอกรูปแบบของรายการได้อย่างชัดเจน
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก
ด้านกายภาพ
- ชาย / หญิง
- อายุ 13 – 25 ปี
- โสด / สมรส
ด้านจิตภาพ
- เป็นวัยรุ่นกล้าแสดงออก
- เป็นผู้ที่ชอบความเฮฮาสังสรรค์ในสังคม
-ชอบแฟชั่น ชอบความสวยความงาม
5. Concept
เที่ยวแบบมีสาระ
6. Mood / tone
- วัยทีน / เพิ่มความรู้ / ดูสนุกสนาน
วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554
การทำ Banner
- สำหรับเราแล้วคือรูปสำหรับลิงค์กลับมาที่ บลอค หรือ เว็บ ของเราคะเป็นเหมือนรูปที่ดึงดูดความสนใจให้แก่ผู้พบเห็นแล้วยังสามารถอธิบายได้ถึงว่าเป็น บลอค หรือ เว็บ ที่เกี่ยวกับอะไรด้วย
ขนาดของ Banner ทั่วๆไป
- จริงๆแล้วก็ไม่ได้มีการกำหนดค่าแบบตายตัวเท่าไหร่ น่าจะขึ้นอยู่กับคนทำว่าต้องการใช้รูปขนาดไหนแต่ขนาดทั่วๆไปที่พบเห็นขนาดเล็กๆจะมี 50x50 88x31 100x35 ไปเรื่อยๆ
‘‘ยังฮยอนซอก’’ (Yang Hyun Seok) ประธานใหญ่แห่ง ‘‘YG Entertainment’’ ได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับกรณีข้อถกเถียงเรื่องชื่อเรียกของกลุ่มศิลปินหญิงที่รู้จักกันดีในนาม ‘‘Bigbang Girls’’ ซึ่งกำลังเป็นประเด็นร้อนกันอยู่ในขณะนี้ โดยเขาได้กล่าวผ่านทางสื่อแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 30 มีนาคมว่า “ ผมยอมรับครับว่า ก่อนหน้านี้ เราได้เคยตกลงจะใช้ ‘‘21’’ เป็นชื่อเรียกกลุ่มศิลปินหญิงกลุ่มใหม่ของเรา ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเรียกเธอว่า ‘‘Bigbang Gilrs’’ กันไว้แล้ว ”
แต่ปรากฎว่า ล่าสุด กลับมีกระแสข่าวออกมาว่า แท้จริงแล้ว ชื่อ ‘‘21’’ (to anyone – ทู เอนี่วัน) นี้ เป็นชื่อนักร้องชายที่เคยใช้เดบิวต์ไปแล้วเมื่อตอนปี 2005 ทำให้หลายคนต่างเข้าใจไปว่ายังฮยอนซอกได้ดัดแปลงชื่อนี้มาใช้กับศิลปินของเขานั่นเอง ในขณะที่เขาก็ได้ออกมาเปิดเผยว่า “ ผมไม่เคยรู้เลยจริงๆ ว่าเคยมีนักร้องชายใช้ชื่อ ‘‘21’’ นี้มาก่อนน่ะครับ ”
แต่ทว่า ‘‘ยังฮยอนซอก’’ ก็ได้อธิบายต่อว่า “เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการยื่นยันความบริสุทธิ์ในเรื่องนี้ ทางเราก็จะทำการเปลี่ยนชื่อของพวกเธอ ทั้งตามคำบรรยาย และตามสื่อต่างๆ จาก ‘‘21’’ เป็น ‘‘2NE1’’ รวมทั้งจะดำเนินการใส่โลโก้ และชื่อเรียก ‘‘2NE1’’ อย่างเป็นทางการลงไปในแผ่นเพลงเดบิวต์ของพวกเธอครับ ” พร้อมยังกล่าวต่ออีกว่า “ถึงแม้ว่าผมอยากจะเก็บเรื่องที่เราต้องเปลี่ยนชื่อกลุ่มศิลปินสาวของเรามาเป็น ‘‘2NE1’’ ในครั้งนี้ไว้เป็นความลับจนกว่าพวกเธอจะเดบิวต์ แต่ในเมื่อเรื่องนี้เกิดเป็นประเด็นขึ้นมาแล้ว ผมก็ขอแจ้งให้ทุกคนทราบอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ไปเลยละกันนะครับ และก็ขออย่าให้มีการเข้าใจอะไรผิดกันอีกเลย”
และภายในวันเดียวกันนั้น ยังฮยอนซอกยังได้กล่าวเพียงสั้นๆ อีกว่า “มันก็จริงอยู่ครับ ที่ความหมายของ ‘‘2NE1’’ อย่างหนึ่งก็คือ ‘‘to anyone’’ แต่ในเมื่อชื่อ ‘‘21’’ (to anyone) กลับสื่อไปถึงนักร้องคนอื่นได้ ผมเลยคิดว่า เราคงจะไม่ใช้ความหมาย ‘‘to anyone’’ อีกต่อไปครับ”
ทางด้าน YG ก็กล่าวอธิบายเกี่ยวกับชื่อ ‘‘2NE1’’ ว่า “ชื่อ ‘‘2NE1’’ นี้ มีความหมายเปรียบกลุ่มศิลปินสาวของเราแป็นกลุ่มพลังทางดนตรีที่มีความแปลกใหม่ ท้าทาย เช่นเดียวกับตอนช่วงเวลาที่คนเราอายุ 21 ปีนั่นเอง อีกทั้ง มันยังเป็นเลขแห่งชัยชนะในการเล่น แบล็คแจ็ค อีกด้วย”
ซึ่ง ‘‘2NE1’’ อันประกอบไปด้วย ‘‘ซานดารา ปาร์ค’’ (Candara Par), ‘‘ปาร์คบอม’’ (Park Bom), ‘‘กงมินจี’’ (Kong Min Ji) และ ‘‘ซีแอล(CL)’’ มีกำหนดจะเดบิวต์ในฐานะนักร้องกลุ่มหญิงล้วนอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ โดยล่าสุด พวกเธอก็ได้รับกระแสตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากเพลง ‘‘Lollipop’’ ซึ่งร้องคู่กับศิลปินรุ่นพี่อย่างบิ๊กแบงนั่นเอง
บริษัท Yamaha ได้นำศิลปิน 2NE1 มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับ Fiore
วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554
โครงการสื่อโฆษณาหน้าจอ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
2. ข้อมูลเบื้องต้น / S W O T
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรวิชาชีพของสื่อมวลชนซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2543 โดยการรวมกันของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2498 - พ.ศ.2543) กับสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.2508 - พ.ศ.2543) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกภาพในองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน ให้สามารถทำหน้าที่ผดุงไว้ซึ่งมาตรฐานทางวิชาชีพ และจริยธรรมของสื่อมวลชนไทยได้อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น
วิสัยทัศน์ เป็นสถาบันหลักของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน
SWOT
S= Strength สมาคมมีบทบาทในการดูแลสมาชิกครอบคลุมทั้งสวัสดิการรักษาพยาบาล ประกันชีวิต คลอดบุตร ทุนการศึกษาบุตร สวัสดิการมรณกรรม และดูแลนักข่าวอาวุโสโดยการจัดตั้งกองทุน เหยี่ยวปีกหัก เพื่อให้ความช่วยเหลือ
W = Weakness
-สมาคม จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่สำหรับสมาชิกและผู้สนใจใน 4 รูปแบบ
1. หนังสือวันนักข่าว เผยแพร่ปีละ 1 ฉบับ ทุกวันที่ 4 มีนาคม
2. จุลสารราชดำเนิน เป็นวารสารราย 3 เดือน
3. จดหมายข่าวรายเดือน
4. การเผยแพร่ทางสื่ออิเลกทรอนิกส์ www.tja.or.th
O = Opportunity
- มีประชนชนโดยส่วยใหญ่ยังคงรับชม และติดตามข่าวสาร และสาระความบันเทิงของกิจการสื่อสารมวลชน ยังเหนี่ยวแน่นอยู่
T = Threat
- การมีสื่อใหม่ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
- ส่วนแบ่งทางการตลาด ยังคงมีมากอยู่
- ข้อมูลข่าวอาจล่าช้าเพราะการพิมพ์
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
1. ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพของการเสนอข่าวและความคิดเห็น
2. ให้ประชาชนได้ทราบข่าวเฉพาะที่เป็นจริง การเสนอข่าวสารใด ๆ ออกพิมพ์โฆษณาเผยแพร่ ถ้าปรากฏว่าไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องรีบจัดการแก้ไขให้ถูกต้องโดยไว
3. ในการได้มาซึ่งข่าว ภาพ หรือข้อมูลอื่นใดมาเป็นของตน ต้องใช้วิธีการที่สุภาพและซื่อสัตย์เท่านั้น
4. เคารพในความวางใจของผู้ให้ข่าว และรักษาไว้ซึ่งความลับของแหล่งข่าว
5. ปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยมุ่งหวังต่อสาธารณประโยชน์ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวหรือหมู่คณะใด ๆ โดยไม่ชอบธรรม
6. ไม่กระทำการอันเป็นการบั่นทอนเกียรติหรือความสามัคคีของเพื่อนร่วมวิชาชีพ
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)
ด้านกายภาพ
- ชาย/หญิง/เด็ก/คนชรา
- โสด/สมรส
- ไม่จำกัดอายุ
- เป็นบุคคลที่ชอบดูรับชมข่าวสาร สาระบันเทิง และรายการทางสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่ออื่นๆ
- เป็นคนชอบอยู่บ้านดูทีวี ฟังวิทยุ
5. แนวความคิด (Concept)
เครือข่ายขับเคลื่อน ประชาชนมีสุข
6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)
ให้ความรู้ความบันเทิงพร้อมกับการก้าวไปข้างหน้าเพื่อรับใช้ประชาชนอย่างเต็มที่
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)
มุ่งมั่น ตั้งใจ ช่วยเหลือ
8. ผลตอบสนอง (Desired response)
1.สามารถเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนและสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนได้
2.ประชาชนรับรู้ข่าวสารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553
รูปแบบการนำเสนอภาพโฆษณา
2. การใช้ภาพเหนือจริง การนำเรื่องราวที่คาดว่าจะไม่เป็นไปได้(ใช้สิ่งที่จริงหรือไม่จริงก็ได้)โดยให้สอดคล้องกับคอนเซปงาน

3. การสร้างความผิดปกติจากของจริง

4. การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
5. การใช้มุมกล้องเเทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย
เทศบาลนครพิษณุโลก

2. ข้อมูลเบื้องต้น / S W O T
เมืองพิษณุโลก เดิมประกาศเป็นสุขาภิบาลเมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2458 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองพิษณุโลก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 หลังจากได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 มีพื้นที่ การปกครอง 5.85 ตร.กม. ต่อมาได้ประกาศเปลี่ยนแปลงขยายเขตเทศบาล ตามประกาศพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2512 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 86 ตอนที่ 117 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ขยายเขต จากเดิม 5.85 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 18.26 ตร.กม.
ปัจจุบันมีฐานะเป็นเทศบาลนครพิษณุโลก ตามพระราชกฤษฎีกายกฐานะ เทศบาลเมือง เป็นเทศบาลนคร ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2542

ดวงตราเทศบาล
เป็นรูปช้างออกศึกภายในเส้นรอบวงเป็นรูปกษัตริย์ทรงช้าง โดยถือเอาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะพระมหาอุปราชา
SWOT
S= Strength เทศบาลนครพิษณุโลกจะเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนกลไกทุกส่วน ให้เดินหน้าในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น และการพัฒนาในทุกด้าน อย่างสอดคล้องต้องกัน แนวนโยบายในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ของเทศบาลนครพิษณุโลก จะดำเนินไปภายใต้วิสัยทัศน์ “พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีภูมิทัศน์สวยงาม ประชาชนมีความสุข” โดยมีนโยบายการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของท้องถิ่น มุ่งเน้นการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือการยึดหลัก “ธรรมาภิบาล” เป็นสำคัญ อันหมายถึงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส
W =Weakness การบริหารงานเทศบาลนครพิษณุโลกจะยังให้ความสำคัญกับการทำงานในเชิงบูรณาการ ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล จะต้องมาจากการประสานแผนพัฒนา จากความต้องการของหลายฝ่าย ทั้งภาคประชาชน ชุมชน กลุ่มองค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ในระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
O = Opportunity- มีประชนชนโดยส่วยใหญ่ยังคงรับชม และติดตามข่าวสาร ของเทศบาลอยู่ตลอดเวลา
T = Threat
- จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากร
- เป็นศูนย์กลางเพียงจุดเดียว ทำให้ผู้ที่อยู่ไกล ได้รับความลำบากในการเดินทาง
- จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความล่าช้าในการบริการ
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
1. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน จะปรับปรุงถนนในเขตเทศบาลให้เป็นถนนคอนกรีต พร้อมท่อระบายน้ำ ขยายการให้บริการไฟฟ้าสาธารณะให้อย่างทั่วถึงทุกตรอกซอกซอย และพัฒนาการผลิตน้ำประปาที่สะอาด มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม จะพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาล ให้ดียิ่งขึ้น และถนนทุกสายในเขตเทศบาลต้องไม่มีขยะตกค้าง รวมถึงการลดมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง และเสียง ตลอดจนการจัดให้มีระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ และบ่อดักไขมันก่อนปล่อย น้ำเสียลงท่อระบายน้ำ
3. นโยบายด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต จะส่งเสริมการนันทนาการต่าง ๆ แก่ผู้สูงอายุ ดูแลช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย ให้การสงเคราะห์เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ คนด้อยโอกาสทางสังคม และผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง พร้อมกันนั้น จะเร่งงานก่อสร้างสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ และศูนย์ออกกำลังกายของเมืองพิษณุโลกอีกแห่งหนึ่ง และจะสานต่อโครงการพัฒนาริมฝั่ง แม่น้ำน่าน เพื่อการพักผ่อน ออกกำลังกาย และการท่องเที่ยวด้วยเช่นเดียวกัน อีกทั้งส่งเสริมให้มีสถานออกกำลังกายสำหรับประชาชนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
4. นโยบายด้านเศรษฐกิจ จะส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดหาแหล่งที่ค้าขาย ตลาด เพื่อให้ประชาชนมีที่สร้างรายได้ และร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาสินค้าชุมชน รวมถึงการจัดสถานที่สำหรับขายสินค้าของชุมชน
5. นโยบายด้านชุมชนและสังคม จะจัดตั้งชุมชนให้ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาล และร่วมกันพัฒนาให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน ให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชุมชน และส่งเสริมให้เกิดชุมชนสัมพันธ์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาท้องถิ่นซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนในเขตเทศบาล
6. นโยบายด้านการศึกษา จะส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีมาตรฐาน และเป็นธรรมด้วยความเสมอภาค จัดให้มีโครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็กทุกคนในเขตเทศบาล จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์การเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชน ศูนย์การเรียนรู้เพื่อบริการเยาวชนและประชาชน และจัดให้มีศูนย์พัฒนาทักษะความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. นโยบายด้านสาธารณสุข จะจัดให้มีศูนย์บริการสุขภาพชุมชน ให้ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาล รวมไปถึงการพัฒนาตลาดที่ถูกสุขลักษณะอนามัย ตลอดจนการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะที่สะอาดเพื่อให้บริการแก่ประชาชน
8. นโยบายด้านศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว จะร่วมกับประชาชน ชุมชน และกลุ่มองค์กรต่าง ๆ อนุรักษ์งานประเพณี วัฒนธรรม เช่น การแห่เทียนพรรษา งานลอยกระทง งานสงกรานต์ งานแข่งเรือยาว และจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
9. นโยบายด้านการจราจร จะปรับปรุงระบบการจราจร โดยเพิ่มสัญญาณไฟจราจร และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาจราจรในจุดที่ติดขัด
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)
ด้านกายภาพ
- ชาย/หญิง/เด็ก/คนชรา
- โสด/สมรส
- ไม่จำกัดอายุ
ด้านจินตภาพ
เป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านต่างๆเกี่บวกับจังหวัดพิษณุโลก
5. แนวความคิด (Concept)
มุ่งมั่นบริการ บริหารโปร่งใส สานสายใยปวงประชา รักษาสิ่งแวดล้อม
6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)
ให้ความรู้ข่าวสารพร้อมกับการก้าวไปข้างหน้าเพื่อรับใช้ประชาชนอย่างเต็มที่
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)
ช่วยเหลือ มุ่งมั่น ตั้งใจ
8. ผลตอบสนอง (Desired response)
1.สามารถเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนและสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของจังหวัดพิษณุโลกได้
2.ประชาชนรับรู้ข่าวสารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ