วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบการนำเสนอภาพโฆษณา

1. การอุปมาทางการเห็น (การเปรียบเทียบ) ต้องมีอะไรมาเป็นตัวบ่งบอก หรือ แฟงความในเเบบไม่โจ่งเเจ้ง



2. การใช้ภาพเหนือจริง การนำเรื่องราวที่คาดว่าจะไม่เป็นไปได้(ใช้สิ่งที่จริงหรือไม่จริงก็ได้)โดยให้สอดคล้องกับคอนเซปงาน



3. การสร้างความผิดปกติจากของจริง


4. การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

5. การใช้มุมกล้องเเทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย

6. การล้อเลียน

7. ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ



เทศบาลนครพิษณุโลก

1. ชื่อเรื่อง เทศบาลนครพิษณุโลก



2. ข้อมูลเบื้องต้น / S W O T

เมืองพิษณุโลก เดิมประกาศเป็นสุขาภิบาลเมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2458 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองพิษณุโลก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 หลังจากได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 มีพื้นที่ การปกครอง 5.85 ตร.กม. ต่อมาได้ประกาศเปลี่ยนแปลงขยายเขตเทศบาล ตามประกาศพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2512 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 86 ตอนที่ 117 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ขยายเขต จากเดิม 5.85 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 18.26 ตร.กม.
ปัจจุบันมีฐานะเป็นเทศบาลนครพิษณุโลก ตามพระราชกฤษฎีกายกฐานะ เทศบาลเมือง เป็นเทศบาลนคร ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2542



ดวงตราเทศบาล
เป็นรูปช้างออกศึกภายในเส้นรอบวงเป็นรูปกษัตริย์ทรงช้าง โดยถือเอาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะพระมหาอุปราชา

SWOT

S= Strength เทศบาลนครพิษณุโลกจะเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนกลไกทุกส่วน ให้เดินหน้าในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น และการพัฒนาในทุกด้าน อย่างสอดคล้องต้องกัน แนวนโยบายในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ของเทศบาลนครพิษณุโลก จะดำเนินไปภายใต้วิสัยทัศน์ “พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีภูมิทัศน์สวยงาม ประชาชนมีความสุข” โดยมีนโยบายการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของท้องถิ่น มุ่งเน้นการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือการยึดหลัก “ธรรมาภิบาล” เป็นสำคัญ อันหมายถึงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส

W =Weakness การบริหารงานเทศบาลนครพิษณุโลกจะยังให้ความสำคัญกับการทำงานในเชิงบูรณาการ ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล จะต้องมาจากการประสานแผนพัฒนา จากความต้องการของหลายฝ่าย ทั้งภาคประชาชน ชุมชน กลุ่มองค์กรต่าง ๆ และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ในระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ดังนี้

O = Opportunity- มีประชนชนโดยส่วยใหญ่ยังคงรับชม และติดตามข่าวสาร ของเทศบาลอยู่ตลอดเวลา

T = Threat

- จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากร

- เป็นศูนย์กลางเพียงจุดเดียว ทำให้ผู้ที่อยู่ไกล ได้รับความลำบากในการเดินทาง

- จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความล่าช้าในการบริการ

3. วัตถุประสงค์ (Objective)

1. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน จะปรับปรุงถนนในเขตเทศบาลให้เป็นถนนคอนกรีต พร้อมท่อระบายน้ำ ขยายการให้บริการไฟฟ้าสาธารณะให้อย่างทั่วถึงทุกตรอกซอกซอย และพัฒนาการผลิตน้ำประปาที่สะอาด มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

2. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม จะพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาล ให้ดียิ่งขึ้น และถนนทุกสายในเขตเทศบาลต้องไม่มีขยะตกค้าง รวมถึงการลดมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง และเสียง ตลอดจนการจัดให้มีระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ และบ่อดักไขมันก่อนปล่อย น้ำเสียลงท่อระบายน้ำ

3. นโยบายด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต จะส่งเสริมการนันทนาการต่าง ๆ แก่ผู้สูงอายุ ดูแลช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย ให้การสงเคราะห์เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ คนด้อยโอกาสทางสังคม และผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง พร้อมกันนั้น จะเร่งงานก่อสร้างสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ และศูนย์ออกกำลังกายของเมืองพิษณุโลกอีกแห่งหนึ่ง และจะสานต่อโครงการพัฒนาริมฝั่ง แม่น้ำน่าน เพื่อการพักผ่อน ออกกำลังกาย และการท่องเที่ยวด้วยเช่นเดียวกัน อีกทั้งส่งเสริมให้มีสถานออกกำลังกายสำหรับประชาชนให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

4. นโยบายด้านเศรษฐกิจ จะส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดหาแหล่งที่ค้าขาย ตลาด เพื่อให้ประชาชนมีที่สร้างรายได้ และร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาสินค้าชุมชน รวมถึงการจัดสถานที่สำหรับขายสินค้าของชุมชน

5. นโยบายด้านชุมชนและสังคม จะจัดตั้งชุมชนให้ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาล และร่วมกันพัฒนาให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน ให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชุมชน และส่งเสริมให้เกิดชุมชนสัมพันธ์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาท้องถิ่นซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนในเขตเทศบาล

6. นโยบายด้านการศึกษา จะส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีมาตรฐาน และเป็นธรรมด้วยความเสมอภาค จัดให้มีโครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็กทุกคนในเขตเทศบาล จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์การเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชน ศูนย์การเรียนรู้เพื่อบริการเยาวชนและประชาชน และจัดให้มีศูนย์พัฒนาทักษะความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

7. นโยบายด้านสาธารณสุข จะจัดให้มีศูนย์บริการสุขภาพชุมชน ให้ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาล รวมไปถึงการพัฒนาตลาดที่ถูกสุขลักษณะอนามัย ตลอดจนการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะที่สะอาดเพื่อให้บริการแก่ประชาชน

8. นโยบายด้านศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว จะร่วมกับประชาชน ชุมชน และกลุ่มองค์กรต่าง ๆ อนุรักษ์งานประเพณี วัฒนธรรม เช่น การแห่เทียนพรรษา งานลอยกระทง งานสงกรานต์ งานแข่งเรือยาว และจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

9. นโยบายด้านการจราจร จะปรับปรุงระบบการจราจร โดยเพิ่มสัญญาณไฟจราจร และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาจราจรในจุดที่ติดขัด

4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)

ด้านกายภาพ

- ชาย/หญิง/เด็ก/คนชรา

- โสด/สมรส

- ไม่จำกัดอายุ

ด้านจินตภาพ

เป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านต่างๆเกี่บวกับจังหวัดพิษณุโลก

5. แนวความคิด (Concept)

มุ่งมั่นบริการ บริหารโปร่งใส สานสายใยปวงประชา รักษาสิ่งแวดล้อม

6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)

ให้ความรู้ข่าวสารพร้อมกับการก้าวไปข้างหน้าเพื่อรับใช้ประชาชนอย่างเต็มที่

7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)

ช่วยเหลือ มุ่งมั่น ตั้งใจ

8. ผลตอบสนอง (Desired response)

1.สามารถเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนและสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของจังหวัดพิษณุโลกได้

2.ประชาชนรับรู้ข่าวสารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ผู้ติดตาม